คนดูข่าวคาดหวังอะไรกับสื่อ ???
แม้ว่าสถานการณ์คนทำสื่อไม่สู้ดีนัก ในช่วง5-6 ปี หลังการประมูลทีวีดิจิตอล ประกอบกับในยุคที่ประชาชนมีตัวเลือกเสพข่าวสารมากขึ้นจากหน้าจอ Social Media สารพัน สื่อไทยจะอยู่รอดในยุคข่าวดราม่าเต็มจอหรือไม่??? ทั้งหมดนี้ยังเป็นเรื่องท้าทายอนาคตธุรกิจสื่อยุคล่าเรตติ้งอย่างรุนแรง
ในทางกลับกันอะไร คือสิ่งที่นักข่าว “ทำข่าว” กันอยู่ทุกวัน ….
น่าคิดว่าวงการสื่อมองตัวเราเองอย่างไรและผู้บริโภคข่าวสารมองการทำงานของสื่ออย่างไร และอะไรคือความคาดหวังต่อคำว่า “นักข่าว” ที่คนไทยคิดและต้องการ
มองย้อนกลับไป วงการนี้พูดกันว่า ถ้าไม่มีเรตติ้ง ไม่ขยี้ข่าวปมดราม่าเชิงชู้สาว หรือประเด็นที่เรียกว่าข่าวขูดหวย ใบ้หวย รวยเบอร์ โหราศาสตร์ บ่อน้ำให้โชค รักษาโรคมะเร็งหาย สื่ออย่างเราจะไปไม่รอด
บางสำนักข่าวจึงจับประเด็นนี้เป็นจุดขาย ขยี้ข่าว เติมความต้องการของผู้มีความต้องการเสพข่าวรูปแบบนี้เฉพาะ
สื่อในเครือ New York Times ก็ต้องอยู่ในสภาพที่ยากลำบากไม่แพ้สื่อไทย แต่สิ่งที่บรรดาห้องข่าว The Times พูดคุยกันเมื่อปี 2560 น่าสนใจ เพราะสื่อไทยกำลังจะไล่ตามสถานการณ์ในโลกการทำงานข่าวและเทคโนโลยีไม่แพ้สหรัฐ โดยหัวใจหลัก ห้องข่าว The Times บอกว่าเมื่อภูมิทัศน์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สื่อก็ต้องปรับตัวให้รวดเร็วเช่นกัน ถ้าไม่ผ่าตัด เปลี่ยนเร็วแรงก็ไม่รอด

แล้ว The Times ทำอะไรบ้าง นี่เป็นสิ่งที่สื่อในเมืองไทยยังไม่ค่อยทำมากนัก
1.การแสดงข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualization) จะต้องมีความชัดเจน เพิ่มพลังของการสื่อสารด้วยภาพและกราฟฟิคที่ดึงดูดสายตาให้กับข่าวได้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
2.เขียนข่าวแบบให้ความกระจ่าง และให้ความสรุปที่ไม่เยิ่นเย้อ (Brief) กระชับชัดเจน ยิ่งเน้นสรุป เช้า-เย็น และรายการทาง Online แบบสดๆได้ยิ่งดี ทำการสื่อสารด้วยสื่อ Data Visualization แบบ VDO Interactive มากขึ้น
3.ใช้กลยุทธ์ดึงข่าวสารเชิงการบริการ Living & Home การสอนสูตรอาหาร การท่องเที่ยว ข้อแนะนำทางเทคนิคสุขภาพและการเดินทางที่ได้ผลว่าดีจริง

4. สร้างความภักดีของผู้รับชมด้วยการให้ผู้รับชมมีส่วนร่วม เปิดทุกช่องทางในความเห็นของผู้รับชมแล้ว นำเสนอ พูดคุยและฟังอย่างตั้งใจ เพื่อสร้างชุมชนของชาว The Times
5.ห้องข่าวของ The Times จะมีพนักงานให้ความสำคัญกับ 3 สิ่ง
- ใช้วารสารศาสตร์ (Journalism) ที่ครอบคลุม รอบรู้และมีการสื่อสารเชิงลึกด้วยข้อมูล
- ผู้รับชม (Audience) เป็นเป้าหมาย มุ่งเรียนรู้ ศึกษา และโฟกัสไปที่การตอบรับของผู้รับชม ค้นหาประสบการณ์ความชอบและนิสัยของผู้รับชมให้มากที่สุด
- รูปแบบปฏิบัติงาน (Operation) มีการทำงานข้ามแผนก สื่อสารเชื่อมโยง เชื่อมร้อยกันอย่างยืดหยุ่น
ถึงวันนี้ยังไม่มีข้อสรุปใดๆที่ชัดเจน นักวิเคราะห์แวดวงสื่อคาดการณ์ว่าเป็นไปได้ว่าจะมีบางสื่อที่รอดและปรับตัวเร็วแรง สื่อเหล่านี้จะครองใจคนด้วยความ “น่าเชื่อถือ” แบบคนรู้ใจพิเศษสุด ส่วนบางสื่อก็ไม่สนใจกลยุทธ์ ระยะยาวใดๆนอกจากการอยู่ให้รอดและล่าเรตติ้งรายวันเท่านั้น
Wonderful site. Lots of helpful info here. I am
sendiing it to several pals ans also sharing in delicious.
Andd naturally, thank you tto your sweat!
LikeLiked by 1 person
Thank you very much for your comment. I really hope that this site will be helpful for someone. 🙂
LikeLike